🏠⛪🏦สารบัญ
🍑โครงงานคอมพิวเตอร์ คืออะไร
โครงงานคอมพิวเตอร์ เป็นกิจกรรมการเรียนรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาและเรียนรู้โดยมีอิสระในการเลือกปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยอาจใช้ทักษาะความรู้ในกระบวนการทางวิชาการต่าง ๆ เข้ามาเป็นเครื่องมือในการศึกษา แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว โครงงานคอมพิวเตอร์มักใช้ความรู้ทางกระบวนการเกี่ยวกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และพื้นทางทางคอมพิวเตอร์เข้ามาศึกษา ค้นคว้าและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาที่ตนเองสนใจ
จุดประสงค์ที่สำคัญของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือการเปิดโอกาสให้ผู้ทำโครงงานได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ได้ใฝ่เรียนใฝ่รู้และการพัฒนาความคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นหรือพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ได้ในอนาคต
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานของงานงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ซึ่งมีความหลากหลายทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงาน ดังสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท คือ โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media) โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development) โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment) โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application) โครงงานพัฒนาเกม (Game Development) โครงงานอินเทอร์เน็ตออฟติงค์ (IoT) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. โครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทสื่อการศึกษา
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media) เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้ สอนนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบ โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ โดยการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทสื่อการศึกษา ผู้เรียนที่จะพัฒนาโครงงานประเภทนี้จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือในการพัฒนาโครงงาน
2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
ส่วนใหญ่เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ เพื่อใช้ประโยชน์ ในด้านต่างๆ เช่น การออกแบบและสร้างชิ้นงาน ที่เราคุ้นเคยตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์สร้างงานสามมิติเป็นต้น
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและจำลองการทดลอง โดยใช้ความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ ในศาสตร์แต่ละด้าน ซึ่งส่วนใหญ่อาจอยู่ในรูปแบบของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ โดยจำลองทฤษฎีเหล่านั้นด้วยคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ การทดลองเรื่องพฤติกรรมของสัตว์ ทฤษฎีการแบ่งแยกสารประกอบ เป็นต้น
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
เป็นโครงงานประเภทที่มีการออกแบบและพัฒนาทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ มักเป็นการสร้างใหม่หรือดัดแปรงของเดิมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เน้นเพื่อเป็นการประยุกต์ใช้งาน มีการนำความรู้ทางด้านเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
เป็นโครงงานอีกประเภทที่น่าสนใจ เน้นการพัฒนาเกมเพื่อส่งเสริมทางด้านความรู้ควบคู่กับความเพลิดเพลิน สนุกสนาน เน้นการฝึกการคิดและการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา ตามโจทย์หรือรูปแบบของเกมที่วางไว้ การออกแบบมุ่งเน้นลักษณะและกฎเกณฑ์เพื่อให้เกิดความน่าสนใจและท้าทายแก้ผู้เล่น
6. โครงงานอินเทอร์เน็ตออฟติงค์ (IoT)
อ้างอิงจาก https://www.scimath.org/lesson-technology/item/11247-2019-12-19-07-37-36
ที่มาขององค์ความรู้ ==> https://myipst.ipst.ac.th/